วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

คำศัพท์เกี่ยวกับโทรคมนาคม

1. address บอกตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยความจำ ทุกๆ ไบต์ของหน่วยความจำและทุกๆ ส่วนวงของจานบันทึกแบบ แข็งหรือซีดี-รอมจะมีเลขที่อยู่ของตัวเองเสมอ
2. authoring language
ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ในการผลิตเนื้อหา เรื่อง หรือบทเรียน เป็นภาษาที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะ
3. AUTOEXEC.BATแฟ้มในดอสที่ใช้ชุดคำสั่งในการเริ่มต้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มชุดคำสั่ง (batch file) ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ ใช้เก็บคำสั่งหลายๆ คำสั่งเอาไว้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติในทันทีที่เปิดใช้เครื่อง
4. backup สำรอง, การสำรอง, ตัวสำรอง การคัดลอกแฟ้มเพื่อทำสำเนา ปกติแล้วจะเป็นการคัดลอกแฟ้มจากจานบันทึกแบบแข็งไปยังสื่อบันทึกอื่น ตัวสำรอง เครื่องคอมพิวเตอร์สำรอง เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเสียก็สามารถนำเครื่องสำรองมาใช้ได้ทันที bandwidth ช่องกว้างสัญญาณ การวัดความถี่ของจำนวนข้อมูลที่สามารถไหลไปในช่องสัญญาณโดยใช้เป็นรอบต่อวินาที (hertz) หรือบิตต่อวินาที (bits per second)

5. communications protocol มาตรฐานที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในข่ายงานหรือโดยการใช้ระบบโทรคมนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร่วมอยู่ในการสื่อสารนี้จะต้องมีการจัดระบบอย่างเดียวกันและมีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เหมือนกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
6. computer simulation เทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียนรู้กระบวนการในสถานการณ์จำลอง โดยมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจว่าจะต้องมีการกระทำอย่างไรบ้างเมื่อพบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละเหตุการณ์
7. CONFIG.SYS แฟ้มที่รวมคำสั่งต่างๆ เพื่อบอกระบบปฏิบัติการว่าจะมีการทำงานอย่างไร เมื่อเราทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะอ่านแฟ้ม CONFIG.SYS และทำงานตามคำสั่งต่างๆ คำสั่งเหล่านี้อาจเป็นการบอกระบบว่าจะจัดการกับหน่วยความจำอย่างไร มีแฟ้มกี่แฟ้มที่จะเปิดขึ้นในหนึ่งครั้ง และโปรแกรมใดบ้างที่จะใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์
8. context switching การเปลี่ยนจากโปรแกรมหนึ่งไปยังอีกโปรแกรมหนึ่งโดยไม่ต้องออกจากโปรแกรมเดิมก่อน โปรแกรมที่มีการให้บรรจุหลายๆ โปรแกรม (multiple-loading program) ในคราวเดียวกันจะมีลักษณะเป็นการสวิตช์สิ่งแวดล้อม เมื่อมีการใช้ร่วมกับส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) และมีการใช้งานในลักษณะการตัดและปะข้อความหรือภาพ การสวิตช์สิ่งแวดล้อม จะช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลจากโปรแกรมหนึ่งไปยังอีกโปรแกรมหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
9. database ฐานข้อมูล การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้ทำให้เป็นระบบ และจัดให้เป็นฐานสำหรับการค้นคืนข้อมูล การสรุปผล และการตัดสินใจ การรวบรวมข้อมูลใดๆ ก็ตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้นับว่าเป็นฐานข้อมูลทั้งสิ้นถึงแม้ว่าจะไม่ได้รวบรวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม
10. dialup IP เกณฑ์วิธีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยต่อหมายเลข วิธีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยตรงโดยผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์ ในการใช้การเข้าถึงตามกฎเกณฑ์นี้เราต้องติดตั้งตัวขับอุปกรณ์แบบจุดต่อจุด (PPP) หรือแบบอนุกรม (SLIP) เพื่อทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ของกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเตอร์เน็ต (TCP/IP) ด้วย และต้องมีโปรแกรมด้านกราฟิก
11. disk cache ส่วนของจานบันทึกแบบแข็งที่สงวนเนื้อที่ไว้สำหรับเก็บเอกสารจากเวิลด์ไวด์เว็บที่เราเพิ่งเข้าถึงในการเลือกอ่านในเว็บ เมื่อเราเข้าไปยังหน้าเหล่านี้อีกครั้งหนึ่ง การเลือกอ่านจะตรวจสอบในขั้นแรกกับเครื่องบริการเพื่อดูว่าเอกสารเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น การเลือกอ่านก็จะค้นคืนเอกสารเหล่านี้จากดิสก์แคชแทนที่จะ ไปค้นคืนในข่ายงาน เป็นผลทำให้การค้นคืน ทำได้อย่างรวดเร็วกว่ากันมาก
12.domain เขตในเลขที่อยู่ของอินเตอร์เน็ต ระดับความสำคัญของเขตจะดูจากขวาไปซ้าย เขตขวาสุดซึ่งอยู่หลังสุดของเลขที่อยู่จะเป็นเขตระดับสูงสุด (top-level domain) ซึ่งจะครอบคลุมชื่อทางซ้าย เขตขวาสุดจะบอกถึงระดับประเทศ และเขตซ้ายสุดจะบอกชื่อเครื่อง โดยแต่ละเขตจะมีจุด . แบ่งระดับชื่อเขต

12.1domain name ชื่อซึ่งระบุที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ (host) ที่เชื่อมโยงในอินเตอร์เน็ตโดยเป็นชื่อสมบูรณ์ของที่ตั้งของอินเตอร์เน็ตนั้น
12.2domain name address เลขที่อยู่ของอินเตอร์เน็ตที่ประกอบด้วยชื่อของคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อเชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ต (host name) เขตย่อย (sub domain) และเขตระดับสูงสุด (domain) ซึ่งตรงข้ามกับเลขที่อยู่ของ IP (IP address) ที่มีเฉพาะตัวเลขเท่านั้น เลขที่อยู่ชื่อของเขตนี้เรียกอย่างเต็มๆ ว่า fully qualified domain name ดู domain และ domain name ประกอบ
12.3 domain name service(DNS)โปรแกรมที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตโดยเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ (เรียกว่า DNS server) และจัดหาตัวแปลอัตโนมัติระหว่างชื่อของเขตกับเลขที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต
13. dynamic random-access memory (DRAM)ชิปของหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM chip) ที่ใช้หน่วยเก็บประจุสำหรับเก็บประจุไฟฟ้า เนื่องจากหน่วยเก็บประจุมักจะสูญเสียประจุไฟฟ้าได้ง่าย ชิปดีแรมจึงต้องมีการอัดกระแสไฟฟ้าอยู่เสมอ ชิปดีแรมมักใช้ในแผงวงจรตัวปรับต่อภาพที่ราคาถูกเพื่อเก็บภาพเอาไว้ ดู static random-access memory (SRAM) ประกอบ
14. overwrite การบันทึกข้อมูลลงบนจานแม่เหล็กในเนื้อที่เดียวกันกับข้อมูลอื่นที่บันทึกอยู่แล้ว จึงเป็นการทำลายข้อมูลเดิมนั้นให้หายไปนอกจากนี้ ยังหมายถึงการแทนที่แฟ้มที่มีอยู่เดิมด้วยแฟ้มประเภทอื่นในชื่อเดียวกัน เรามีทางเลือกในการบันทึกทับแฟ้มถ้าเรากำลังคัดลอกแฟ้มลงจานบันทึกหรือสารบบที่บรรจุแฟ้มที่มีชื่อเดียวกัน
15. glitch พลังไฟฟ้ารบกวนที่เกิดขึ้นทันทีทันใด หรือการเปลี่ยนแปลงแบบไม่คาดคิดในวงจรไฟฟ้า เช่น การรวนของกระแสไฟหรือขั้วต่อสกปรก ซึ่งทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ให้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดออกมาหรืออาจถึงเครื่องขัดข้องได้ ถ้ากล่าวถึง glitch จะ เป็นปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์ แต่ถ้าเป็นปัญหาด้านซอฟต์แวร์จะเรียกว่า bug
---est.buu.ac.th/moodle/file.php?file=/115/moddata/forum/332/1035/---








1 ความคิดเห็น:

¤ [Princess..Sowy] ¤ กล่าวว่า...

เอิ้กๆ นู๋แวะมาเยี่ยม ค่า ว่างๆ ก้อแวะไปหานู๋บ้างนะค๊า *0*